เมนู

เราตถาคต จักแสดงวนปัตถปริยายสูตรแก่พวกเธอ ดังนี้.
ใช้ในฉัฏฐีวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร เละ
โมคคัลลานะ นี้เป็นสุภาษิตของเธอทั้งปวง
ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า สักว่าทำบทให้เต็ม ดังในประโยคเป็นต้นว่า ก็
พระอริยะเหล่าใดมีกายกรรมบริสุทธิ์
ดังนี้. แต่ในที่นี้ โว ศัพท์นี้
พึงทราบว่าใช้ในจตุตถีวิภัตติ.
บทว่า ภิกฺขเว เป็นการตรัสเรียกภิกษุที่อยู่เฉพาะพระพักตร์ซ้ำอีก
ด้วยการให้รับฟัง. บทว่า เทเสสฺสามิ เป็นการเตือนให้รู้ว่าจะแสดง
ธรรม. อธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมูลเหตุแห่งธรรม
ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย, เราจักแสดงเทศนาอันเป็นตัวเหตุโดยนัยที่ 2 แก่
พวกเธอ ดังนี้. สองบทว่า ตํ สุณาถ ความว่า เธอทั้งหลายจงฟังใจ
ความนั้น คือเหตุนั้น ได้แก่เทศนานั้นที่เราจะกล่าวอยู่. ก็ 2 บทนี้ว่า
สาธุกํ สาธุ ในคำนี้ว่า สาธุกํ มนสิกโรถ ดังนี้ มีใจความอันเดียวกัน.

หลักการใช้ สาธุ ศัพท์


อนึ่ง สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า อายาจนะ
(อ้อนวอน ) สัมปฏิจฉนะ (รับ) สัมปหังสนะ (ร่าเริง) สุนทระ
(ดี) และทัฬหีกรม (ทำให้มั่น). อธิบายว่า :-
สาธุ ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า อ้อนวอน ดังในประโยคเป็นต้นว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงทรงแสดงพระธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยสังเขป
ดังนี้. ใช้ในอรรถ
ว่า รับ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นแล ชื่นชม